มาทำความรู้จัก พื้น pu คืออะไร และมีคุณสมบัติอย่างไร
พื้น pu ดีอย่างไรและเหมาะกับการใช้งานในรูปแบบไหนบ้าง

ในการทำอุตสาหกรรมไปจนถึงการสร้างอาคาร พื้นที่สำหรับใช้งานรูปแบบต่าง ๆ นั้น นอกจากความแข็งแรงของโครงสร้างอาคารแล้ว งานพื้นก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน KPI-Advance ในฐานะผู้ให้บริการงานพื้น Exopy และพื้น PU มาอย่างยาวนาน เราจึงอยากแบ่งปันความรู้ที่สำคัญเรื่องงานพื้น โดยเฉพาะพื้น PU เพื่อให้ผู้ประกอบการ เจ้าของโครงการต่าง ๆ มีตัวเลือกเสริมความแข็งแกร่งให้งานพื้นของคุณได้อย่างเหมาะสมกัน
ก่อนอื่นมารู้จักข้อมูลเบื้องต้นของพื้นรูปแบบนี้กันก่อน พื้นโพลียูรีเทน (Polyurethane Floor) หรือที่คนส่วนใหญ่จะเรียกสั้น ๆ ว่า "พื้น PU" เป็นพื้นที่ผลิตจากวัสดุประเภท Water Base Polyurethane ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่
- Part A: Polyurethane Water Base Resin
- Part B: Polyurethane Water Base Hardener
- Part C: Cement & Pigment Filler
เมื่อนำทั้ง 3 ส่วนนี้มาผสมรวมกันจะได้วัสดุเคลือบพื้นชนิด Polyurethane ซึ่งมีคุณสมบัติที่ทนทานสูง สามารถรับแรงกระแทก การเสียดสี การสัญจรได้เป็นอย่างดี รวมถึงทนต่ออุณหภูมิร้อนที่สูงมากถึง +140°C และอุณหภูมิเย็นที่ต่ำกว่า -40°C ได้
นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มคุณสมบัติให้เป็นพื้นป้องกันเชื้อแบคทีเรีย (Anti-bacterial Floor) ได้ด้วยการผสมวัสดุเคลือบพื้นชนิดพิเศษที่เรียกว่า Silver Nano เหมาะสำหรับธุรกิจของผู้ประกอบการผลิตและแปรรูปอาหาร โดยจะเรียกพื้น Polyurethane ที่มีคุณสมบัตินี้ว่า "Food Grade Floor" เพราะเป็นพื้นที่เหมาะสำหรับ พื้นโรงงานผลิตอาหาร พื้นห้องเย็น และพื้นในส่วนการจัดเก็บและแปรรูปอาหารนั่นเอง
พื้น PU แบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามความหนาและลักษณะการใช้งาน ดังนี้
- พื้น PU-LF (Polyurethane Self Leveling Floor)
PU-LF หรือพื้น PU แบบบาง พื้นประเภทนี้มีความหนาอยู่ที่ 1.5-2 มิลลิเมตร มีผิวเรียบและกันน้ำซึมผ่าน ทนทานต่อการใช้งานหนัก สารเคมี ความเป็นกรด-ด่าง และการขัดถู เหมาะสำหรับโรงงานผลิตยา ห้องปฏิบัติการทางเคมี และห้องซักล้าง แต่ควรใช้ในพื้นที่ที่มีโหลดต่ำ เช่น ทางเดินหรือใช้รถแฮนด์ลิฟท์ ไม่เหมาะกับยานพาหนะหรือเครื่องจักรหนัก
- พื้น PU-MF (Polyurethane Medium Duty Floor)
ถัดมาคือ พื้น PU แบบปานกลาง มีความหนา 3-4 มิลลิเมตร ใช้ได้ทั้งพื้นคอนกรีตเก่าและใหม่ ทนความชื้น รอยขีดข่วน การกระแทก สารเคมี และความเป็นกรด-ด่าง ช่วยยืดอายุการใช้งานของพื้นคอนกรีต เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และโกดังสินค้า รองรับการใช้งานแบบโหลดหนักปานกลาง เครื่องจักรน้ำหนักปานกลาง และรถโฟล์คลิฟท์ขนาด 2-4 ตัน
- พื้น PU-HF (Polyurethane Heavy Duty Floor)
ต่อกันที่ PU-HF หรือพื้น PU แบบหนามาก เป็นพื้นที่หนาที่สุด 5-10 มิลลิเมตร ทนทานสูงต่อสารเคมี ความเป็นกรด-ด่าง ความชื้น รอยขีดข่วน และการกระแทก มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 5 ปี เหมาะกับพื้นที่ที่มีการใช้งานแบบโหลดหนัก รองรับรถโฟล์คลิฟขนาด 5 ตัน ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เครื่องสำอาง อาหาร เครื่องดื่ม ยา ลานโหลดสินค้า โกดังขนาดใหญ่ ศูนย์กระจายสินค้า และแท่นวางเครื่องจักร
- พื้น PU Coating
พื้น PU รูปแบบสุดท้ายคือ PU Coating หรือพื้นพียูแบบกลิ้ง เป็นพื้น PU ที่มีราคาถูกที่สุด นิยมใช้กับพื้นที่กลางแจ้ง มีความหนาระดับไมครอน ได้รับความนิยมเพราะทนทานต่อแสง UV ไม่ทำให้สีซีดจาง มีให้เลือกทั้งแบบผิวด้านและผิวเงา
- เตรียมพื้นคอนกรีตก่อนทำพื้น PU
- ก่อนทำพื้น PU จะต้องมีการตรวจสอบความชื้นของพื้นผิวคอนกรีตเสียก่อน โดยใช้เครื่องวัดความชื้นในการตรวจสอบ ซึ่งค่าความชื้นที่วัดได้ไม่ควรเกิน 6%
- เพื่อให้การทำพื้น PU ให้เรียบเนียนและมีประสิทธิภาพ จะต้องทำการขัดผิวพื้นคอนกรีตด้วยเครื่อง Polishing Machines เพื่อจัดเอาพื้นผิวที่ไม่แข็งแรงหรือพื้นผิวที่ไม่เรียบของคอนกรีตออกไป แต่หากเป็นพื้นคอนกรีตเก่าที่มีการเคลือบวัสดุอื่น ๆ ไว้ก่อนหน้า จะต้องทำการลอกวัสดุนั้น ๆ ออกก่อนทำการขัดผิวพื้นคอนกรีต
- ปรับแต่งพื้นคอนกรีตให้เรียบร้อยด้วยการตัดแต่งส่วนเกินตามขอบหรือมุมของพื้น
- เซาะร่องขนาด 1-3 มิลลิเมตรบนพื้นผิวคอนกรีต และทำกากบาทบนพื้นผิวคอนกรีต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความทนทานของพื้น PU ก่อนเคลือบ รวมถึงช่วยเสริมแรงยึดเกาะของ PU
- ทำความสะอาดพื้นผิวคอนกรีตให้ปราศจากฝุ่นละออง คราบน้ำมัน ก่อนการทำพื้น PU
- ขั้นตอนการเคลือบผิวคอนกรีตให้เป็นพื้น PU
- เริ่มต้นด้วยการลงรองพื้นผิวคอนกรีตด้วย PU Primer โดยใช้เกรียงปาดแล้วให้เรียบ แล้วทิ้งไว้ให้แห้งสนิทอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
- จากนั้นตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีรูพรุนบนพื้นผิวคอนกรีตอีก หากพบรูพรุนไม่ควรทิ้งไว้เด็ดขาด ควรเติมรูพรุนนั้นให้เต็มด้วยการโป้วให้เรียบร้อย และมีการขัดแต่งให้เรียบเนียน
- เทและเกลี่ยพื้น PU ลงบนพื้นคอนกรีต ให้มีความหนาสม่ำเสมอด้วยอุปกรณ์คราดฟันและใช้เกรียงปาดเก็บรายละเอียดต่าง ๆ บนพื้นผิวให้เรียบร้อย เช่น รอยคลื่น รูพรุน
- ขั้นตอนสุดท้ายคือ ไล่ฟองอากาศด้วยลูกกลิ้งแบบหนา แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5-6 ชั่วโมง เพื่อให้พื้น PU แห้งและเซตตัว
- ควรทิ้งพื้น PU ที่เคลือบเสร็จแล้วไว้ประมาณ 7 วันก่อนการใช้งาน
เมื่อทำครบทุกกระบวนการของการทำพื้น PU แล้ว เพียงเท่านี้ก็จะได้พื้นคอนกรีตของอาคาร ลานจอดรถ คอนโด โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงงาน โกดังเก็บสินค้า คลังสินค้า สนามกีฬา ฯลฯ ที่แข็งแรงทนทานต่อทุกสภาวะการใช้งานและสภาพแวดล้อม
จะเห็นได้ว่าพื้นพียูนั้นมีหลากหลายประเภทและคุณสมบัติที่รองรับการทำงานที่ต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้งานพื้นออกมาสมบูรณ์แบบ มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้ยาวนาน คุณจึงควรเลือกทำพื้นกับผู้ให้บริการที่เชื่อใจได้ในมาตรฐานการทำงาน รวมถึงให้คำปรึกษาได้ เรายินดีให้บริการติดตั้งระบบพื้น เคลือบพื้น Epoxy ขัดเงาพื้นเพื่อความสวยงาม งานเคลือบบ่อและกันซึมดาดฟ้า สำหรับแก้ปัญหารั่วซึม ครอบคลุมถึงงาน ระบบพื้นอุตสาหกรรมต่าง ๆ และระบบพื้นสาธารณะทั่วไป รองรับทุกประเภทธุรกิจ ทั้งกลุ่มงานที่ต้องการเคลือบพื้น epoxy เพื่อยืดอายุการใช้งานพื้นผิว เช่น ศูนย์กระจายสินค้า โกดังเก็บสินค้า และอุตสาหกรรมห้องเย็นทุกประเภท จนกระทั่งกลุ่มงานที่ต้องการขัดเงาพื้นเพื่อความสวยงาม เช่น โรงแรม พื้นสำนักงาน พื้นโรงแรมรีสอร์ท พื้นศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ศูนย์แสดงนิทรรศการ ฯลฯ
บริษัท เคพีไอ แอดวานซ์ พรีซิชั่น เราคือหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญการทำพื้น PU มีประสบการณ์ในการดูแลงานพื้นมาแล้วหลายโครงการ พร้อมให้บริการ ด้วยความเชี่ยวชาญในการติดตั้งพื้น PU จากทีมงานมืออาชีพ สามารถช่วยวิเคราะห์ปัญหาของพื้นผิวอาคารคอนกรีตที่หน้างานโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พร้อมเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา และให้คำแนะนำในด้านเทคนิค อีกทั้งยังมีบริการหลังการขายและการรับประกันผลงานตลอดอายุการใช้งาน
หากต้องการใช้บริการทำพื้น PU หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่
Tel : 0958787888 , 0991797999 , 020055551
Line : @epoxy.kpi , kpi788m
Facebook : https://www.facebook.com/KPI.advanceprecision/
Email : kpi.sales01@gmail.com
Website : https://www.kpi-advance.co.th